วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่6

วันพฤหัสบดี ที่ 19 กุมภาพันธุ์ 2558

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ มีดังนี้
  กิจกรรมการเล่น
- การเล่นเป็นสิ่งสำคัญต่อการเรียนรู้ เด็กจะสนใจการเล่นกันเองโดยที่เราไม่ต้องชักจูงอะไรเลย เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะให้ใช้การเล่นให้เป็นสื่อการเรียนรู้ 

 - เด็กพิเศษหลายๆคนเขาจะไม่รู้วิธีการเล่น ไม่รู้จักการเล่นว่า เป็นอย่างไรต้องทำอย่างไร ครูควรที่จะสังเกตเด็กอย่างเป้นระบบเพื่อจะได้รู้ว่าเด็กคนนั้นมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง

- ครูควรที่จะวางแผนกิจกรรมการเล่นให้เด็กๆไว้หลายๆอย่าง และจดบีนทึก ทำแผนIEP

-ในขณะที่เด็กกำลังเล่นอย่นั้นครูควรที่จะอยู่ใกล้ชิดกับเด็ก และสนใจในตัวเด็ก และให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริมให้กับเด็ก แต่ไม่ควรที่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป

- เด็กพิเศษจะต้องได้เรียนรู้และมีสิทธิเท่าเด็กคนอื่นๆในห้องเรียน



บันทุกอนุทินครั้งที่5

การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

กลุ่มเรียน102  เวลา08:30-12:20 น.

วันพฤหัสบดีที่12 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558 

วันนี้อาจารย์เบียร์ให้ใส่ถุงมือ1ข้าง เพื่อให้วาดรูปมือข้างในถุงมือนั้น ว่ารายละเอียดเป็นอย่างไร 
เราทุกคนนั้นเห็นมือเกือบทุก24ชั่วโมงเลยก็ว่าได้ ไม่มีใครที่วันๆนึงจะไม่มองมือตนเอง เพียงแต่ว่าเราจะสังเกตและวาดออกมาได้มากขนาดไหน อาจจะใช้จินตนาการหรือการสังเกตมืออีกข้างแล้ววาดแค่นั้นเอง

ในชั่วโมงนี้สิ่งที่สะท้อนต่อความเป็นครูก็คือ

เด็กเปรียบเสมือนมือของเราที่เี่เห้นทุกๆวันแต่เราก้ยังเก็บรายละเอียดทุกๆส่วนของมือเราไม่ได้หมด
เพราะฉะนั้นการจดบันทึกพฤติกรรมของเด็กเมื่อเด็กทำนั้นถือเป็นสิ่งสำคัญเราควรจดเดี๋ยวนั้นและบันทึกตามความเป็นจริงเท่านั้น

เด็กทุกคนชอบให้คนชมเพราะการชมถือเป็นการเสริมแรงให้กับเด็ก

           HAPPY BIRTHDAY TO K.BEER.




บันทึกอนุทินครั้งที่4

การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

กลุ่มเรียน102  เวลา08:30-12:20 น.

วันพฤหัสบดีที่5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558 

วันนี้จากกิจกรรมวาดภาพจากดอกหางนกยูงนั้นทำให้ดิฉันได้รู้ว่า การสังเกตจากรายละเอียดต่างๆของเด็กนั้นเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการจดบันทึกพฤติกรรมของเด็ก เราควรที่จะจดบันทึกรายละเอียดต่างๆตามความเป็นจริง

-เด็กปฐมวัยเป็ยวัยที่สมองกำลังพัฒนา แรกเกิด-5ปี11เดือน29วัน

สิ่งที่ไม่ควรทำและควรทำคือ
การตั้งฉายาให้กับเด็กพิเศษทุกประเภท 

- ครูไม่ควรที่จะบอกกับผุ้ปกครองว่าลูกของเขามีความผิดปกติ เพราะโดยส่วนใหญ่ผู้ปกครองจะทราบอยู่แล้วว่าลูกน้อยของเขานั้นมีความผิดปกติ สิ่งที่ครูควรทำก็คือการให้กำลังใจแก่ผู้ปกครองและทหใฟ้เขาเห็นว่าลูกน้อยนั้นสามารถมีแนวทางในการพัฒนาได้

- ครูควรที่จะสังเกตเด็กเป้นช่วงๆและจดบันทึกอย่างเป็นระบบ ทำอย่างสม่ำเสมอ

การสังเกตอย่างเป็นระบบและไม่เป็นระบบ
สังเกตอย่างเป็นระบบ
ได้แก่การสังเกตอย่างมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนตามแผนที่วางไว้ และมีการจดบันทึกอย่างต่อเนื่องทำอย่างสม่ำเสมอ
สังเกตอย่างไม่เป็นระบบ                                                                                                 
เป็นการสังเกตในขณะที่เด็กทำกิจกรรมประจำวันและเกิดพฤติกรรมที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้น

 "ลำดับการพัฒนาเด็กอันไหนควรลงมือแก้ไขให้รีบทำ 
  อันไหนรอได้และอันไหนปล่อยได้"
"พฤติกรรมใดก็ตามที่ไม่ขัดการเรียนรู้ของเด็ก อันไหนปล่อยได้ควรปล่อยให้เด็กได้ลงมือทำ"

บันทึกอนุทินครั้งที่3

การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

กลุ่มเรียน102  เวลา08:30-12:20 น.

วันพฤหัสบดีที่29 มกราคม พ.ศ.2558 

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจาก อ.เบียร์ติดธุระค่ะ
            
                                  

บันทึกอนุทินครั้งที่2

                                      การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                                                                  วัน/เดือน/ปี 22/01/57
                                                               (13:00-16:40)
                                                                 อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิ่น

วันนี้มีการร้องเพลงบัดในชั้นเรียน คือเพลง ดื่มนม และเพลง อาบน้ำ

เพลงดื่มนม
นมเป็นอาหารดี มีคุณค่าต่อร่างกาย
ดื่มแล้วชื่นใจ ร่างกายแข็งแรง
ยังมีนมถั่วเหลือง ดื่มได้ดีและไม่แพง
ดื่มแล้วชื่นใจ ร่างกายแข็งแรง

    เพลง อาบน้ำ
อาบน้ำซู่ซ่า ล้างหน้าล้างตา
ฟอกสบู่ถูตัว ชำระเหงื่อไคล
ราดน้ำให้ทั่ว เสร็จแล้วเช็ดตัว
อย่าให้ขุ่นมัว สุขกายสบายใจ

เนื้อหาที่ได้รับในการเรียนครั้งนี้คือ
จากการเรียนในครั้งนี้ทำให้ดิฉันมีความเข้าใจเกี่ยวกับรายวิชานี้ว่า
- การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กเด็กปฐมวัย หมายถึง การที่เราจะนำเด็กพิเศษมาเรียนหับเด็กปกติ ลักษณะรูปแบบการศึกษา คือ แบบทั่วไป (เด็กทั่วไปเรียน)

- การศึกษาแบบเรียนร่วม คือการจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
- ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษจะต้องร่วมมือกัน

การเรียนร่วมเต็มเวลา(Mainstreaming)
-ใช้หลักสูตรทั่วไปยึดความเท่าเทียมระหว่างเด็กปกติและเด็กพิเศษสิ่งที่ปรับเปลี่ยนคือวิธีการสอน
การเรียนร่วมบางเวลา (Integration) 
- เรียนร่วมแบบบางเวลาคือการที่ให้เด็กเข้าไปทำกิจจกรรมเพียงแค่บางเวลาเท่านั้นเช่น เมื่อถึงกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะหรือศิลปะสร้างสรรค์เราก็ให้เด็กเข้าไปร่วมเพราะว่าเด็กที่สามารถร่วมทำกิจกรรมได้บางเวลานั้นคือเด็กที่มีความผิดปกติในระดับ  ปานกลาง-มาก เขาจะอยู่กับกิจกรรมนั้นๆได้แค่แป๊ปเดียวเท่านั้น

การศึกษาแบบเรียนรวม Inclusive Education 
เป็นการรับเด็กเข้ามาตั้งแต่เริ่มต้นของการศึกษาแต่เรียนร่วมอาจจะอยู่ภายใต้โรงเรียนที่รับดูแลเด็กพิเศษโดยเฉพาะหรือศูนย์ผู้ดูแล แล้วขอมาเรียนร่วมกับเด็กปกติโดยต้องขออนุญาติจากทางโรงเรียนก่อน

Inclusive education is Education for all

การศึกษาแบบเรียนรวมต้องเริ่มต้นตั้งแต่ปฐมวัยและจะต้องจัดให้เหมาะสมกับเด็ก